การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
 

        การชะลอตัวของเศรษฐกิจของไทยในระยะหลังกลายเป็นโจทย์หลักทางเศรษฐกิจที่ต้องหาทางแก้ไข การพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงและนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสาคัญเพื่อให้เข้ามาเปลี่ยนโฉมภาคการผลิตของประเทศให้ทันสมัย โดยโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ได้กลายมาเป็นความหวังของรัฐบาลในการเติมเต็มภาพรวมการส่งเสริมการลงทุน อันจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และทาให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว
 

  • ความพยายามของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตของประเทศ
     

        เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวของ GDP ของไทยในช่วงปี 2552-2559 เมื่อเทียบกับช่วงปี 2544-2551 ที่มีค่าเฉลี่ยลดลงเป็นร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 4.9 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงชะลอตัว อีกทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ต่อ GDP ก็มีสัดส่วนที่ลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งรากฐานของปัญหาส่วนหนึ่งอาจมาจากโครงสร้างของภาคการผลิตของประเทศที่ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับปานกลางหรือใช้แรงงานเข้มข้น ทาให้ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มที่ไม่สูงนัก อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและปัจจัยแวดล้อมทาให้อุปสงค์ในตลาดเปลี่ยนแปลงไป ทาให้สินค้าที่ไทยผลิตเริ่มล้าสมัย และอาจไม่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของความต้องการในตลาดโลก ดังนั้น ไทยจึงจาเป็นต้องปรับโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศโดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรักษาอัตราการการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายเปลี่ยนโฉมภาคการผลิตของประเทศผ่านการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย1

        อย่างไรก็ดี การลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งเป็นการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีในระดับสูง อีกทั้งยังเป็นธุรกิจนวัตกรรมใหม่ซึ่งมีระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างนาน ทาให้นักลงทุนจาเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงในระดับที่สูง รัฐบาลจึงต้องเสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นการดึงดูดให้เกิดการลงทุนจากต้นทุนด้านภาษีที่ลดลง และเพิ่มความเป็นไปได้ของโครงการลงทุน (Feasibility) ให้มากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงได้มีการปรับปรุงบริบทของการส่งเสริมการลงทุนให้อยู่ในรูปแบบ (Platform) ใหม่ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง นวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนา (R&D) อย่างชัดเจน ผ่านกลไกหลักคือกฎหมายสองฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2560 และ พ.ร.บ.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสาหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 ซึ่ง BOI ได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมอย่างมีนัยสาคัญ และเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป้าหมาย (Core technologies)2 มีโอกาสที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดถึง 13 ปี 3 ภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ และโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีในไทยเลยมีโอกาสเพิ่มเป็น 15 ปีได้ภายใต้ พ.ร.บ.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ รวมถึงได้รับเงินทุนสนับสนุนในการทาวิจัยและพัฒนาอีกด้วย ทั้งนี้ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สาคัญขึ้นในกระบวนการส่งเสริมการลงทุนของไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่การให้สิทธิประโยชน์ของ BOI มีความยืดหยุ่นและเฉพาะเจาะจง (Tailor-made) กล่าวคือ นักลงทุนสามารถเสนอโครงการลงทุนเพื่อให้คณะกรรมการที่มีอานาจตามพ.ร.บ.แต่ละฉบับในการพิจารณาเห็นชอบและกาหนดขอบเขตของสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเป็นรายโครงการไป4 ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่มีความยืดหยุ่นขึ้นนี้น่าจะเป็นผลดีต่อนักลงทุนในการได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนมากที่สุด ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือของทางการในการดึงดูดการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาว

        นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นสิ่งสาคัญที่รัฐบาลต้องการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้มีความพร้อมและเชื่อมโยงกันทั้งระบบ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการและยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งในโหมดต่าง ๆ จึงได้เกิดการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ขึ้นมาในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อให้เป็นพื้นที่เป้าหมายสาหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เนื่องจากพื้นที่ EEC มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ด้วยทาเลที่ตั้งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ รวมไปถึงระบบโครงข่ายโลจิสติกส์และการขนส่งที่สามารถเชื่อมต่อการขนส่งทางเรือ ทางบก ทางราง และทางอากาศได้ และที่สาคัญคือการที่ EEC มีฐานอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูงในพื้นที่อยู่แล้ว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดในอดีต ทาให้สามารถต่อยอดการลงทุนและรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ได้ง่าย ดังนั้น การลงทุนเพื่อเปลี่ยนโฉมโครงสร้างการผลิตของประเทศด้วยอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้นใน EEC จึงน่าจะใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านน้อยกว่าการลงทุนในพื้นที่อื่น
 

  • สิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่าใน EEC
     

        สิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้จากการเข้าไปลงทุนใน EEC ที่เหนือกว่าการลงทุนในพื้นที่อื่นในไทยหรือในภูมิภาคมีหลายประการ โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงและนวัตกรรมใหม่ ๆ และการวิจัยและพัฒนา โดยข้อได้เปรียบของ EEC มีดังนี้

- โครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาและเอื้อต่อการลงทุน
        เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ใน EEC ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาทภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์และการขนส่งใน ทุก ๆ ด้านให้มีความเชื่อมโยงกัน และสามารถเชื่อมต่อไปยังกรุงเทพฯ และพื้นที่อื่น ๆ ในภูมิภาคได้ ซึ่งจะช่วยอานวยความสะดวกทางการค้าและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก รวมไปถึงการพัฒนาเมืองใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ โดยใช้งบประมาณรวมกันกว่า 6 แสนล้านบาท ดังนั้น เมื่อโครงการเหล่านี้แล้วเสร็จน่าจะทาให้ EEC มีความได้เปรียบค่อนข้างมากในแง่ของความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

-  สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม
        หากนักลงทุนเลือกลงทุนใน EEC ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงหรืออุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ก็มีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดถึง 15 ปีภายใต้ พ.ร.บ.การเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันฯ เนื่องจาก EEC เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาลจึงมีแต้มต่อมากกว่าพื้นที่อื่นในประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบแล้ว สิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไทยเสนอให้แก่นักลงทุนนั้นมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

 - สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม
         กระทรวงการคลังจะจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสาหรับผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ทางานใน EEC ในอัตราคงที่ที่ร้อยละ 175 ขณะที่ภาษีเงินได้บุคลลธรรมดาปกติเก็บในอัตราก้าวหน้าสูงสุดร้อยละ 35 ทาให้บุคลากรที่ทางานใน EEC มีความได้เปรียบบุคลากรในพื้นที่อื่นในไทย และเนื่องจากปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยยังสูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ หากไทยสามารถลดอัตราภาษีลงมาเหลือร้อยละ 17 ก็จะเป็นอัตราที่ต่ากว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียและค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ร้อยละ 28.9 และร้อยละ 33.2 ตามลาดับ6

- ศูนย์บริการแบบครบวงจร (One stop service)
        รัฐบาลได้มีนโยบายจัดตั้ง EEC Total Solution Center (EEC TSC) เพื่ออานวยความสะดวกในทุกขั้นตอนให้แก่นักลงทุนเบ็ดเสร็จจุดเดียว ซึ่ง EEC TSC จะช่วยลดขั้นตอนและช่วยให้นักลงทุนประหยัดเวลาในการขออนุญาตต่าง ๆ ได้เป็นอย่างมาก การมีศูนย์บริการแบบครบวงจรจึงเป็นข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของ EEC เมื่อเทียบกับที่อื่นที่ นักลงทุนต้องใช้เวลามากกว่าในการติดต่อประสานกับหลายหน่วยงานที่ไม่ได้รวมศูนย์อยู่ในสถานที่แห่งเดียว

 

  • อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะเข้ามาลงทุนใน EEC

        รัฐบาลคาดหวังว่าภายในปี 2564 จะมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC ไม่ต่ากว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยพัฒนาขึ้น และยกระดับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศให้ขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 5.0 ได้ เพื่อให้ไทยสามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศรายได้สูงได้ภายในปี 2574 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของรัฐบาล7 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในช่วงแรก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าจาก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มี 4 กลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจะเกิดการลงทุนใน EEC ในระยะ 5 ปีแรก (2560-2564) ตามที่รัฐบาลคาดหวัง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีฐานการผลิตอยู่แล้วในประเทศหรือมีศักยภาพในการพัฒนาสูง เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตได้ง่ายกว่า เพราะแรงงานมีความรู้ความเชี่ยวชาญพื้นฐานในการผลิตและมีอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting industries) ในพื้นที่อยู่แล้ว หรือโครงการลงทุนอาจใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการลงทุนใหม่ที่ไม่เคยมีฐานการผลิตในพื้นที่มาก่อน โดย 4 กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเกิดการลงทุนใน EEC ในระยะแรก ได้แก่

1) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ โดยแบ่งเป็น
- อุตสาหกรรมการบิน การซ่อมบารุงอากาศยาน (MRO) และการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน รัฐบาลได้มีโครงการลงทุนเป็นจานวนมากเพื่อพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินและศูนย์กลาง MRO ในภูมิภาค เนื่องจากเอเชียเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของธุรกิจการบินและยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และประเทศไทยก็จัดว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการบินที่สาคัญของภูมิภาคและยังมีพื้นที่ศักยภาพที่เพียงพอสาหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าว ดังนั้น ด้วยทาเลที่ตั้งของ EEC โครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อม และสิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐเสนอให้ ก็น่าจะทาให้นักลงทุนสนใจพิจารณา EEC เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในการลงทุนในภูมิภาค
-  บริการโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากพื้นที่ EEC จะกลายเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งจะทาให้อุปสงค์ของการขนส่งและการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิต จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการในธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจรทั้ง 3PL และ 4PL รวมไปถึงธุรกิจเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธุรกิจคลังสินค้า ธุรกิจการรับบรรจุหีบห่อ ธุรกิจโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse logistics) และธุรกิจกาจัดของเสีย นอกจากนี้ จากการขยายตัวที่รวดเร็วของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ในอาเซียน ทาให้อุปสงค์ของการขนส่งสินค้าในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยทาเลที่มีศักยภาพของ EEC และโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน จึงน่าจะเป็นโอกาสของการลงทุนก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาคใน EEC เพื่อกระจายสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียงได้

2) การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและสุขภาพ ด้วยทัศนียภาพทางธรรมชาติที่สวยงามของทะเลอ่าวไทยและเกาะต่าง ๆ ในภาคตะวันออก รวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาท่าเรือจุกเสม็ด การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ก็จะช่วยให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงน่าจะทาให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ EEC เช่น หอประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ ศูนย์บริการสุขภาพครบวงจร สวนสนุก บริการเรือสาราญ เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาเมืองใหม่ใน EEC แม้ว่าจะไม่ได้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์น่าจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีการขยายตัวสูงในพื้นที่ EEC ตามการขยายตัวของเมืองจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

3) อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาคและมีคลัสเตอร์การผลิตครบวงจรอยู่แล้ว จึงน่าจะเป็นข้อได้เปรียบของ EEC ซึ่งหากนักลงทุนต้องการเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ก็สามารถต่อยอดการผลิตได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ การที่หน่วยงานภาครัฐทั้ง BOI กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมสรรพสามิต ร่วมมือกันกาหนดเงื่อนไขรายละเอียดของสิทธิประโยชน์แก่ นักลงทุนในการผลิต EV ให้เป็นแพ็กเกจเดียวกันทั้งหมดก็น่าจะเพิ่มความน่าดึงดูดให้ EEC เป็นหนึ่งในตัวเลือกหลักของ นักลงทุนได้

4) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โดยเฉพาะการผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติก เนื่องจากพื้นที่จังหวัดระยองมีฐานการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และพลาสติกที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว ผู้ประกอบการในธุรกิจดังกล่าวจึงน่าจะได้รับประโยชน์เพราะสามารถพัฒนาการผลิตไปผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกระแสหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ที่อุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก แต่การลงทุนต้องใช้เงินลงทุนสูง สิทธิประโยชน์ใน EEC จึงน่าจะช่วยลดต้นทุนการประกอบการได้ และทาให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนใน EEC ในที่สุด


        ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Foresight Newsletter:  รู้ลึก รู้ทัน กับหอการค้าไทย ฉบับที่ 74: 31 มีนาคม 2560 เรื่อง "การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในระเบียงเขตเศรษฐกิจตะวันออก"