มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 ก.พ.2558 เห็นชอบโครงการทาเลนท์ โมบิลิตี้ หรือโครงการเคลื่อนย้ายกาลังคนจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน เสมือนการปลดล็อกนักวิจัยจากข้อระเบียบจากราชการให้สามารถช่วยเอกชน ทาวิจัยได้คล่องตัวขึ้น เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไปช่วยเอกชนทาวิจัยไม่ถือเป็นวันลา สามารถใช้ผลการปฏิบัติงานยื่นขอตาแหน่งทางวิชาการ หรือตาแหน่ง อื่นๆ รวมถึงการเลื่อนเงินเดือนประจาปี เป้าหมายเพื่อสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง
 

        ตั้งศูนย์ดึงนักเรียนทุนช่วยชาติ

        นายพูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ ผู้อานวยการด้านพัฒนากาลังคนสะเต็ม สานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) เปิดเผยว่า สวทน.ได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการทาเลนท์ โมบิลิตี้ โดยจัด งบสนับสนุนปีละ 60-70 ล้านบาท คาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 100 ล้านบาท

        ทั้งนี้ ภาควิชาหรือคณะที่เป็นต้นสังกัดของนักวิจัยจะได้รับเงินชดเชย 1.5 เท่าของเงินเดือนนักวิจัยแต่สูงสุดในแต่ละเดือนไม่เกิน 6 หมื่นบาทให้นาไปพัฒนาการเรียนการสอนทดแทนบุคลากรที่ไปทางานในภาคเอกชน ปัจจุบันมีนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเข้าร่วมโครงการ 568 คน โดยมีภาคเอกชนเข้าร่วม 177 บริษัท และมหาวิทยาลัยเข้าร่วมแล้วกว่า 21 แห่งทั่วประเทศ

        โครงการทาเลนท์ฯ ปี 3 จะเน้นส่งเสริม การใช้ประโยชน์จากนักเรียนทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีจานวนมาก เฉพาะทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์กว่า 2,800 คน ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ซึ่งเป็นทุนในความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) ส่งเสริมเรื่องการวิจัย พื้นฐานกว่า 2,000 ทุนและยังมีทุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เช่น ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.)

        "ที่ผ่านมาเราไม่ได้ใช้ศักยภาพของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นระดับหัวกะทิของประเทศเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะไปสังกัดมหาวิทยาลัย สังกัดหน่วยงานราชการ จึงวางนโยบายว่าจะทาระบบใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ของนักเรียนทุนขึ้น มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ" นายพูลศักดิ์กล่าว
 

        หนุนภาคเอกชนพัฒนาโปรเจค

        ปีนี่เริ่มจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางดึงนักเรียนทุนในเครือข่ายภาคเหนือออกมาปีละ 300 คน ส่วนภาคกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นศูนย์กลาง ตั้งเป้า 300 คน รวมเป็น 600 คนก่อนที่จะขยายผลไปยังภาคอีสานและภาคใต้ โดยให้นักเรียนทุนเหล่านี้อย่างน้อย 30 คนเข้ามาถ่ายทอดทักษะความรู้ให้กับผู้ประกอบการในแต่ละเซ็กเตอร์

        ขณะเดียวกันก็ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเข้ามาถ่ายทอดประสบการณ์การทางาน คาดว่า จะทาให้โปรเจคใหม่ๆเกิดขึ้น และพร้อมดาเนินการต่อไปได้ทันที เพราะมีหน่วยงานที่เป็นแหล่งทุนอย่าง สกว. สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ให้การสนับสนุน

        นอกจากนี้ สวทน.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทาเหมืองข้อมูลของนักวิจัยเหล่านี้ให้เป็นระบบต่อไป จะสามารถดึงนักเรียนทุนเข้าสู่ระบบข้อมูลแล้วเชื่อมโยงกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว และสามารถวางแผนโปรเจคต่างๆ รองรับได้ง่ายขึ้น

        ปีหน้าจะขยายผลไปยังภาคอีสานและภาคใต้ ส่วนปีนี้ตั้งเป้าว่าจะเกิดโปรเจคอย่างน้อยภาคละ 5 โปรเจค เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากมีนักวิจัยที่มีความสามารถกระจายอยู่ทั่วประเทศที่มีศักยภาพในการ ทาวิจัยร่วมกับภาคเอกชน

        ส่งนักวิจัยเข้าโรงงาน 300 คน/ปี "เป้าหมายโครงการทาเลนท์ โมบิลิตี้ ตั้งไว้ว่า อย่างน้อยในแต่ละปีจะมีนักวิจัย 70 คนเข้าไปทางานร่วมกับภาคเอกชน คาดว่าปีนี้จะมากว่า 100 คน ประมาณ 50% จะอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร อุตสาหกรรมการแปรรูป ส่วนที่เหลือจะเป็นการซัพพอร์ตเทคโนโลยี อุตฯทางการแพทย์ การแก้ปัญหาระบบหรือกระบวนการผลิตทั่วไป โดยแต่ละปีน่าจะมีนักวิจัยเข้าไปอยู่ในภาคเอกชน 300 คนขึ้นไป และใน 3 ปี ข้างหน้า จะขยับเป็น 300-500 คนต่อปี"

        สิ่งที่ได้นั้นไม่ใช่แค่ตัวสินค้า แต่เมื่อนักวิจัยได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้ประกอบการก็มีโอกาสที่จะพบโจทย์ใหม่ๆ เกิดแนวทางแก้ปัญหาหรือให้คาปรึกษาหรือพัฒนางานวิจัยอย่างอื่นได้ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ แตกต่างจากการทา โปรเจควิจัยทั่วไปที่อาจารย์รับโจทย์มาแล้วมาส่งงาน หรือแค่ให้คาปรึกษาเท่านั้น

        นอกจากนี้ สวทน. ยังหาวิธีส่งเสริม นักวิจัยหน้าใหม่ให้มีโอกาสทางานร่วมกับ ภาคเอกชน ซึ่งต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจ และความน่าเชื่อถือ โดยจัดโครงการนาร่อง นานักวิจัยอาวุโสมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักวิจัย รุ่นใหม่อย่างน้อย 2-3 คน และจะประเดิมในอุตฯ ยานยนต์ที่ทุกอย่างเป็นความลับ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเปิดรับนักวิจัยรุ่นใหม่ จึงต้องอาศัยนักวิจัยอาวุโสเข้ามาช่วยสร้างสะพานเชื่อมให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ได้มีโอกาสเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น

        "วางระบบ ใช้ประโยชน์ จากองค์ความรู้นักเรียนทุน มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มขีด ความสามารถ การแข่งขัน ของประเทศ"

 

ที่มา : สานักข่าวกรุงเทพธุรกิจ