การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประเทศไทยอย่างเป็นระบบ: กลับสู่เส้นทางและฟื้นฟูการเติบโต

ประเด็นสำคัญ

ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการลดความยากจนขั้นรุนแรงอย่างเห็นได้ชัดและกระจายความมั่งคั่งไปยังคนไทยทุกคน

      - เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.7 ต่อปีตลอดสี่สิบปีที่ผ่านมาจนถึงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย (วิกฤติต้มยำกุ้ง)

      - รายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปีในช่วงปีพ.ศ. 2543-2556

      - การส่งออกเติบโตในระดับน่าพึงพอใจที่ร้อยละ 15 ต่อปีตลอดช่วงปีพ.ศ. 2529-2539 ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ภาคเอกชนก็ได้มีการ

        ลงทุนเฉลี่ยร้อยละ 30 ของจีดีพี

      - การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงนี้ช่วยลดอัตราความยากจนจากร้อยละ 67 ในปีพ.ศ. 2529 เหลือร้อยละ 10.5 ในปีพ.ศ. 2557

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง แต่การเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงหลังได้ชะลอตัวลง ประเทศไทยสูญเสียช่วงเวลาที่ยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

      - ในปีพ.ศ. 2557 ประเทศไทยยังคงมีคนยากจนอยู่ 7.1ล้านคน และอีก 6.7 ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะกลับไปเป็นคนยากจนอีก โดยคนจนส่วนใหญ่อยู่

        ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และสามจังหวัดชายแดนใต้

      - ช่องว่างระหว่างกรุงเทพฯและชนบทได้ขยายตัวกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเรื่องระดับรายได้ครัวเรือน การใช้จ่าย การศึกษา ทักษะ และผลิตภาพ

      - การเติบโตทางเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 3.3 ต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2548-2558) หากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ

         ไทยยังอยู่ในระดับนี้ประเทศไทยต้องใช้เวลาอีกยี่สิบปีเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

      - ปัจจัยหลักที่เคยทำให้ความยากจนลดลงได้ในอดีต ไม่ได้ผลลัพธ์เช่นที่ผ่านมา

                - ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นในอดีต แต่ภายในแค่ช่วงเวลาหนึ่งปี

                  (พ.ศ. 2556-2557) ราคาสินค้าเกษตรได้ลดลถึงร้อยละ 13

                - การเติบโตของผลิตภาพแรงงานได้ลดลงจากเดิมที่ร้อยละ 6.8 (พ.ศ. 2529-2539) เหลือร้อยละ 2.6 (พ.ศ. 2547-2557)

                - ความเชื่อมั่นด้านการส่งออกลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 1 (พ.ศ. 2555-2557) จากเดิมที่เคยอยู่ที่ร้อยละ 15 (พ.ศ. 2529-2539)

      - ประเทศอื่นๆ อาทิ กัมพูชาและเวียดนามไล่ตามประเทศไทยทันตามตัวชี้วัดด้านการแข่งขันอย่างชัดเจน ทั้งในด้าน โครงสร้างพื้นฐาน

        การอุดมศึกษา และการฝึกอบรมนวัตกรรม ความพร้อมด้านเทคโนโลยี และการดำเนินธุรกิจที่มีความซับซ้อน

รายงานได้ระบุมาตรการสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลับสู่เส้นทาง ฟื้นฟูการเติบโต และประกันความมั่งคั่งสำหรับคนไทยทุกคนดังนี้

      - สร้างงานที่ดีเพิ่มขึ้น โดยการกระตุ้นการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มการแข่งขันผ่านข้อตกลงการค้าเสรี และลดกฏระเบียบข้อบังคับ ใช้

         เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน

      - ให้ความช่วยเหลือคนจนสุด 40% ด้วยการปรับปรุงการศึกษาและทักษะของกำลังแรงงาน กระตุ้นผลิตภาพภาคเกษตร และสร้างระบบคุ้มครอง

         ทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ

      - สร้างการเติบโตแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปรับตัวรับภัยพิบัติได้ โดยการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย

        ลดความเปราะบางต่อภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและใช้พลังงาน

        ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

      - สร้างความเข้มแข็งให้กับการดำเนินงานของสถาบันในภาครัฐ เพื่อที่จะนำการปฏิรูปตามลำดับที่สำคัญนี้ไปดำเนินการให้บรรลุผล