[พบกับ Smart Mirror ผลงานล่าสุดจากห้องปฏิบัติการ RobotCitizens]
กระจกอัจฉริยะ (Smart Mirror) อีกหนึ่งผลงานการพัฒนา จากห้องปฏิบัติการ Robot Citizens ที่มี ผศ.ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นหัวหน้าทีม
หลักการทำงานของ Smart Mirror
Smart Mirror ทำงานโดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และ AR ( Augmented Reality) มาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ นำเอาโลกเสมือน มาซ้อนทับให้ปรากฏในโลกความจริง และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ เหมือนกับว่า สิ่งเหล่านั้น อยู่ในโลกของเรา
Smart Mirror กับหลากหลายฟังก์ชั่นการใช้งาน
Smart Mirror กระจกอัจฉริยะนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย อาทิ
ใช้เป็นระบบโฆษณา บนจอ TV แบบ อัจฉริยะ สามารถบรรจุ ปัญญาประดิษฐ์ ได้หลากหลาย ทำให้ Smart Mirror สามารถนำข้อมูลต่างๆ มาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ผ่าน AR ได้ เช่น ในกรณี ใช้งานเป็นกระจกในบ้าน เมื่อผู้ใช้ยืนอยู่ข้างหน้ากระจก กระจกสามารถตรวจจับได้ว่า ผู้ใช้งานเป็นใคร และสามารถแสดงผลบนจอ แทรกกับภาพสะท้อนของผู้ใช้งานได้เหมาะสม เช่น แสดงพยากรณ์อากาศ สภาพการจราจร แทรกวิดีโอข่าว ประจำวัน หรือเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ ที่ผู้ใช้งานคนนั้นๆ ใช้งานประจำ หรือตารางนัดหมายต่างๆของผู้ใช้งานในวันนั้น ขึ้นมาแทรก บนหน้าจอ ขณะที่ผู้ใช้งาน กำลังใช้กระจก เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือแต่งหน้า/แต่งตัว
นอกจากนี้ กระจกอัจฉริยะยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆได้ เช่น นำไปใช้ในระบุตัวบุคคล การสกรีนเข้า - ออกอาคาร โดยใช้ฟังก์ชั่นตรวจจับบุคคลจากใบหน้า นำไปใช้เป็นสื่อโฆษณา เฉพาะตัวบุคคล โดยพิจารณาจาก เพศ อายุ และ นำภาพโฆษณา แสดงบนหน้าจอให้เหมาะสมกับบุคคลนั้น
รวมถึง ยังใช้เป็นกระจกเพื่อทดสอบสินค้าเสื้อผ้าในร้านเสื้อผ้าแบบใหม่ ที่ผู้ซื้อไม่ต้องไปทดลองสวมชุด ปะปนกับผู้อื่น ผ่านการใช้งานห้องทดลองเสื้อ และผ่านการสัมผัสตัวเสื้อผ้าเอง โดยกระจกจะช่วยคำนวนรูปร่างของเรา พร้อมทั้งนำเสื้อผ้ามาสวมทับ เพื่อใช้ทดลองเสื้อ โดยไม่ต้องสวมจริง เพียงแค่เราไปยืนหน้ากระจก เสื้อผ้าจะปรากฎขึ้นมาซ้อนทับกับภาพของเราบนกระจก เหมือนกับว่าเรากำลังใส่ชุดนั้นอยู่จริงๆ โดยระบบสามารถควบคุมผ่านท่าทางของเรา เช่น หากเรากวาดมือ จากซ้ายไปขวา จะเป็นการเปลี่ยนเสื้อผ้าไปยังชุดต่อไป
การพัฒนาขั้นต่อไป
"ตั้งใจพัฒนา ทำให้ราคาลดลง และความสามารถของระบบมีมากขึ้น เช่น มี AR ใหม่ๆ และ AI ใหม่ๆ และจะมีการนำระบบ Voice Recognition บรรจุลงในระบบที่จะทำให้กระจกสามารถ ตอบโต้ สั่งงาน ผ่านภาษาไทยได้
โดยจะนำไปใช้ในงานนิทรรศการต่างๆ ก่อน เพื่อหาผู้สนใจนำไปใช้งานธุรกิจ ร้านขายปลีก หรือนำไปใช้งานในพิพิธภัณฑ์ " ผศ.ดร.กาญจนพันธุ์ ฯ กล่าวท้าย