สถานะการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

        นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ระบุว่าขณะนี้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ได้เข้ามาหารือเรื่องการลงทุนในพื้นที่อีอีซีจานวนมาก โดยบีโอไอได้ตั้งเป้าภายในปี 2560 ว่าจะมีนักลงทุนเข้ามาขอรับการส่งเสริม การลงทุนในพื้นที่อีอีซี ไม่ต่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าที่รัฐบาลได้ตั้งไว้ว่าจะมีการลงทุนภาคเอกชนภายใน 5 ปีที่ 5 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้านบาท

        นอกจากนั้น จะมีการเดินทางไปโปรโมทโครงการอีอีซี ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งในเดือนเม.ย.จะเดินทางไปชักจูงการลงทุนที่ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพ.ค.จะไปบรรยายชักจูงการลงทุนในพื้นที่แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เนื่องจาก เป็นแหล่งการลงทุนใหญ่ของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากนั้นจะเดินทางไป เกาหลีใต้ ยุโรป และ สหรัฐ ซึ่งหัวหน้าคณะจะสลับกับไประหว่างตัวเลขาธิการ และรองเลขาธิการบีโอไอ "ผลจากการผลักดันการลงทุนในอีอีซี ทาให้มั่นใจว่าในปีนี้ยอดการขอรับการส่งเสริม จะได้ตามเป้าหมายที่ 6 แสนล้านบาท"

        สำหรับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี จากกฎหมายบีโอไอฉบับใหม่ ทาให้เพิ่มศักยภาพดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 50% เป็นเวลา 5 ปี เช่น หากเป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษี 8 ปี หากเข้ามาตั้งโรงงานในพื้นที่อีอีซี จะได้ลดภาษีอีก 50% เป็นเวลา 5 ปี และสิทธิการลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสาหรับผู้เชี่ยวชาญจะลดเหลือ 17% จากเดิม 35%

        "หากเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยอยากได้จริงๆ ใช้เทคโนโลยีสูงมาก ก็จะให้สิทธิประโยชน์เต็มที่ รวมทั้งยังมีวงเงินกองทุน อีก 1 หมื่นล้านบาท สาหรับการสนับสนุนการวิจัยพัฒนา แต่จะไม่ให้ 100% ของทุนวิจัย จะให้เพียงบางส่วน ซึ่งทุนวิจัยส่วนใหญ่ยังคงเป็นของเอกชนผู้ลงทุน"

        สำหรับ สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายของ บีโอไอ จะให้การยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลไม่เกิน 8 ปีตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนใช้ทุกพื้นที่ ยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคล 9-13 ปี แต่มีเงื่อนไขต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่และสถาบันวิจัย ยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลไม่เกิน 15 ปี ตาม พ.ร.บ.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

        นายวีรพงษ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญ บอกว่า หลังจัดงานเปิดตัวอีอีซีเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้ามาติดต่อขอเช่าหรือซื้อพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้ามาติดต่อเป็น จานวนมาก คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ โดยกนอ.ตั้งเป้าว่าขายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในอีอีซี ปีนี้ประมาณ 2.5-3 พันไร่ หรือคิดเป็น 80% ของเป้าหมายทั้งประเทศที่กนอ. ตั้งไว้ที่ 3.5 พันไร่

        ทั้งนี้ หลังจากที่ได้ประกาศเขตส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอู่ตะเภา เป็นเขตส่งเสริมพิเศษแห่งแรกแล้ว ก็จะพิจารณา คัดเลือกนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่มขึ้นอีก

        ด้านกระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงาน หลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมและโลจิสติกส์ มีทั้งหมด 4 กลุ่มใหญ่ 100 โครงการย่อย มูลค่ารวม 5.9 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าพอสมควร

        ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการในพื้นที่ คือ ทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยาย พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 31.5 กิโลเมตร มูลค่า 17,819 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการก่อสร้างและคืบหน้าไปแล้ว 26%คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2562 ส่วนการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือเอ) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง มูลค่า 1,819 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีความคืบหน้า 66% คาดว่าจะเสร็จในปี 2561

        นอกจากนี้ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่ง ตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (Single Rail Transfer Operator: SRTO) มูลค่า 2,031 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้า 48% และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 สาหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มูลค่า 88,132 ล้านบาท แบ่งเป็นการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ลงทุน 34,958 ล้านบาทและเอกชนลงทุน 53,174 ล้านบาท แต่ขณะนี้รายงานทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ของโครงการยังไม่ผ่านความเห็นชอบ เพราะประชาชนไม่ยอมให้เข้าพื้นที่และต้องเริ่มรับฟังความคิดเห็นใหม่ ซึ่งคาดว่าผู้บริหารโครงการอีอีซีจะช่วยเป็นผู้ประสานเพื่อให้เป็นไปอย่างราบรื่นและเป้าหมายการเสนอโครงการให้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาจะจากเลื่อนจากปีนี้ เป็นปี 2561

        ด้านระบบราง มีโครงการรถไฟทางคู่ ในเส้นทางสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วง ฉะเชิงเทรา-คลอง19- แก่งคอย มูลค่า 10,524 ล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีความคืบหน้าประมาณ 10% คาดว่าจะแล้วเสร็จ ในเดือน ก.พ. 2562 และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยังเตรียมของบประมาณศึกษารถไฟทางคู่เพิ่มเติม ในเส้นทางศรีราชา-มาบตาพุด-ระยอง-ตราด เพิ่มเติม นอกจากนี้มีรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5. กิโลเมตร วงเงิน 152,528 ล้านบาท ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นชอบแล้ว แต่มอบหมาย ให้สานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กลับไปทบทวนเพิ่มเติมเพื่อให้โครงการเชื่อมโยงท่าอากาศยานดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

        ด้านโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานระยะที่ 1 ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา มูลค่า 5,377 ล้านบาทนั้น บริษัท การบินไทย จากัด (มหาชน) ได้ลงนามในการศึกษาความเป็นไปได้กับบริษัท แอร์บัส เรียบร้อยแล้ว คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ จากนี้จะเข้าสู่การลงทุนแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี)

 

ที่มา : สานักข่าวกรุงเทพธุรกิจ